ตัวอักษรมีผลต่องานกราฟฟิกโดยรวม งานออกแบบที่ดีจึงต้องมีตัวอักษรที่เหมาะสมด้วย การออกแบบขึ้นกับประโยชน์ใช้สอย บางครั้งนักออกแบบต้องการตัวอักษรที่อ่านง่าย เหมาะกับงานพิมพ์ ตัวอักษรที่น่าสนใจ ตัวอักษรที่เหมาะกับการแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ก่อนจะมาดูเทคนิคต่างๆเรามาดูตัวอย่างงานที่เด่นๆของนักออกแบบกันครับ
งานออกแบบ the wire magazine headline font ปี ค.ศ. 2004
เป็นงานออกแบบสำหรับหัวหนังสือ จึงมีการคำนึงถึงการอ่านเป็นรอง แต่เน้นที่ความน่าสนใจของ
ตัวอักษรจัดเป็นตัวอักษรแบบ display แนวความคิดการออกแบบนักออกแบบใช้ลักษณะเรขาคณิต สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นพื้นฐานในการสร้างตัวอักษร เพื่อแสดงแนวคิด constructivism หรือโครงสร้างนิยม ตามแบบกลุ่ม modernism ในช่วงปี ค.ศ. 1920 การออกแบบไม่จำกัดระยะ x - height ตามแบบมาตรฐาน ทำให้เกิดความหลากหลายของส่วนสูงตัวอักษร
งานออกแบบ Dazed & confused magazine headline font ออกแบบโดย Suzy Wood and Peter Stitson
ปี 2004 แนวคิดการอออกแบบสร้างลักษณะเด่นของตัวอักษรโดยทดลองลักษณะต่างๆกับส่วน eye และ counter ตัวอักษรที่ได้มีลักษณะเด่น แต่ใช้งานได้หลากหลาย และสามารถใช้ได้ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เกิดจากการแก้ไขเพียงเล็กน้อยกับส่วนประกอบตัวอักษร
ตัวอักษรสำหรับร้านขายเสื้อผ้าชาย แนวคิดเริ่มต้นจากชื่อร้านทำให้ได้ลักษณะกลมแทนความหมาย
รูปร่างของตัวอักษร นำมาเชื่อมกันแบบ inter-locking สัญลักษณ์กิ่งไม้ใช้เพื่อเติมความหมายของตัวอักษรให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การออกแบบลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องออกแบบตัวอักษรทั้งหมด เนื่องจากมีการใช้เฉพาะคำเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของร้านค้า
เทคนิดเล็กๆน้อยในการสร้างสรรค์งานตัวอักษร
เมื่อพูดถึงเทคนิคต่างๆในการออกแบบนั้น มันก็แล้วแต่ผู้ออกแบบว่าเค้าใช้เทคนิคอะไร เพราะความถนัดหรือความชอบมันก็จะสื่อออกมาเป็นตัวงานนั้นๆได้ครับ
งานออกแบบ font เพื่อใช้เป็นหัวหนังสือไม่จำเป็นต้องออกแบบตัวอักษรทั้งหมด แต่เน้นเฉพาะกลุ่มคำ มีลักษณะคล้ายเป็นโลโก้
งานออกแบบอาจมีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดบางอย่างที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม นักออกแบบจะพัฒนาจนสื่อสารออกมาในตัวอักษรได้ บางครั้งผู้ดูอาจไม่เข้าใจกระบวรการทั้งหมด แต่สามารถรับสารที่ถูกส่งมาได้
งานออกแบบโดยมีแนวคิดจากงานออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นลักษณะเด่นขององค์กร |
ตัวอักษรโปสเตอร์งานแสดงเฟอร์นิเจอร์ ใช้ลักษณะของเฟอนิเจอร์เองสร้างเป็นตัวอักษรโดยเน้นลักษณะการใช้พื้นที่เป็นสำคัญ
ทฤษฎีการออกแบบ
emphasis หมายถึงการเน้นจุดสนใจของภาพ ทั้งงานออกแบบที่เป็น 2 มิติ และสามมิติ เพื่อให้ภาพนั้นเกิดการสื่อสารเรื่องราวเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นสำคัญ การเน้นสามารถทำได้หลายวิธีได้แก่ รูปร่าง(shape) ขนาด(size) สี(color)ผิวสัมผัส(texture) และทิศทาง(direction)
unity หมายถึงการสร้างความกลมกลืนให้แก่ภาพ เมื่อมีการเน้นจุดสนใจ(emphasis) จุดหนึ่งแล้ว องค์ประกอบในส่วนที่เหลือก็ไม่ควรรบกวน จึงต้องสร้างความกลมกลืนให้กับภาพ
การสร้าง emphasis โดยการจัดวางองค์ประกอบ(composition) ในการจัดวางองค์ประกอบยังสามารถสร้าง เน้นจุดสนใจด้วยหลากหลายวิธี ในที่นี้จะยกตัวอย่างที่สำคัญ