ประเภทและลักษณะfont

ประเภทและลักษณะfont
แบ่งออกเป็น
1.serif เป็น font ที่มีลักษณะทางการ พัฒนามาจากรูปแบบตัวอักษรที่เขียนด้วยมือ 
ลักษณะเด่นอยู่ที่หาง(serif)


2. san serif พัฒนาจาก serif ให้มีการลดทอนตัดส่วน serif ออกจนดูทันสมัย เรียบง่าย





3. script ตัวอักษรที่มีลักษณะเหมือนเขียนด้วยมือ เป็นลายมือลักษณะต่างๆกันไป 
ส่วนมากนิยมออกแบบให้ตัวอักษรมีลักษณะเอียงเล็กน้อย



4. display ตัวอักษรที่ออกแบบเฉพาะให้มีลักษณะแปลกตาเพื่อใช้ในการสร้างหัวโฆษณา ประกาศ 
ไม่เน้นนำไปใช้ในการพิมพ์บทความ หรือเนื้อหาจำนวนมาก





ลักษณะของ font (type face)
1. normal/regular ประเภทตัวธรรมดา
2. bold ประเภทตัวหนา
3. italic ประเภทตัวเอียง
4. extra ประเภทตัวหนาพิเศษ
5. light ประเภทตัวบางพิเศษ
6. extended ประเภทตัวกว้างพิเศษ
7 narrow ประเภทตัวแคบพิเศษ
8. outline ประเภทตัวอักษรแบบมีขอบ






ลักษณะของตัวอักษรไทย
1. แบบดั้งเดิม หรือแบบมีหัว เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย แสดงความเป็นทางการ คล้าย serif ใช้ได้
กับทั้งส่วนหัวเรื่องและเนื้อเรื่อง
2. แบบหัวตัด คล้าย sanserif ดูเรียบง่ายใช้กับงานที่ดูทันสมัย
3. แบบลายมือ เลียนแบบตัวอักษรที่เขียนด้วยมือ เป็นอิสระ สนุกสนาน ไร้กฎเกณฑ์ เทียบได้กับตัวอักษรแบบscript
4. แบบคัดลายมือ เกิดจากการคัดลายมือด้วยตัวอักษรแบบโบราณที่มีหัวแหลม รู้สึกทางการ พิธีรีตรองแบบดั้งเดิมอนุรักษ์นิยม


5. แบบประดิษฐ์ คล้ายตักอักษรแบบ display ในภาษาอังกฤษ เป็นตัวอักษรใช้ในงานต่างๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ ให้ความรู้สึกหลากหลาย


การจัดวางหน้ากระดาษ(arranging)
1. flush left วางตัวอักษรเสมอซ้าย
2. flush right วางตัวอักษรเสมอขวา
3. centered วางตัวอักษรตรงกลาง
4. justified วางตัวอักษรเสมอซ้ายและขวา
5. contour วางตัวอักษรให้สอดคล้องลักษณะของภาพ
6. concrete วางตัวอักษรเป็นรูปร่างตามต้องการ
7. direction วางตัวอักษรแบบมีทิศทาง