ประวัติtypography

     ตัวอักษร เรียกว่า character และถ้าหากตัวอักษรที่มีลักษณะเหมือนกันเป็นชุดเดียวกัน เรียกว่า font 
ที่เรารู้จักกันดี เช่น angsana UPC,arial, lily, cordia new, tahoma, เป็นต้น
     ประวัติความเป็นมาของสิ่งพิมพ์เริ่มขึ้นจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โลหะ โดย Johannes Gutenberg 
ในปีค.ศ. 1440 ซึ่งทำให้เกิดระบบการพิมพ์เป็นจำนวนมาก การออกแบบตัวอักษรจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมา
Johannes Gutenberg
แท่นพิมพ์ออกแบบโดย Johannes Gutenberg
ตัวอักษรโลหะที่ใช้เป็นแม่พิมพ์


ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
ระบบการพิมพ์ของไทยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณและได้พัฒนามาเรื่อยๆด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทันสมัยในทุกๆวันนี้เป็นเรื่องง่ายดายที่จะจัดทำพิมพ์สื่อต่างๆ ในบทความนี้เราจะพูดถึงประวัติการพิมพ์ของประเทศไทยเราว่าเป็นอย่างไรเรามาดูกันดีกว่าครับ


เริ่มต้นที่
- พ.ศ.2205 สมัยกรุงศรีอยุธยา หลุยส์ ลาโน ( Louis Laneau) บาทหลวงสังฆราช ของคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสที่เข้ามาในประเทศไทยรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ได้แปล แต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาเป็นภาษาไทย รวม 26  เล่ม หนังสือไวยากรณ์ไทยและบาลี 1 เล่ม
และพจนานุกรมไทยอีก 1 เล่ม นอกจากนี้ยังสร้างศาลาเรียนขึ้นในที่พระราชทานที่ตำบล 
เกาะมหาพราหมณ์เหนือกรุงเก่าขึ้นไป    และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในโรงเรียนนี้

- สมัยกรุงธนบุรี บาทหลวงคาทอลิก ชื่อ คาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนาและจัดตั้งโรงพิมพ์ พิมพ์หนังสือที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฏิจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่าเป็นปี ค.ศ.1796 (พ.ศ.2339)

- พ.ศ.2356 มีการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนางจัดสัน ( Nancy Judson)   มิชชันนารีอเมริกัน ต่อมาแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ถูกนำไปเมืองกัลกัตตา


- พ.ศ.2384 หมอบรัดเลย์ (Dr.Dan Beach Bradley) ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับ การยกย่องว่า “บิดาแห่งการพิมพ์ในประเทศไทย” 
ได้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ไทยขึ้นใหม่ให้น่าอ่านกว่าเดิม


วันที่ 3 มิถุนายน 2379 บาทหลวงชาร์ล โรบินสัน ( Reverand Robinson) มิชชันนารีอเมริกัน ได้พิมพ์หนังสือ ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทยจากแท่นพิมพ์ที่ทำด้วยไม้และแม่พิมพ์หิน หนังสือมี 8 หน้า เนื้อหาเกี่ยวกับบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandment)

- พ.ศ.2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างโรงพิมพ์มิชชันนารีอเมริกัน พิมพ์หมายประกาศห้ามสูบฝิ่นนับเป็นเอกสารทางราชการชิ้นแรกที่จัดพิมพ์ขึ้น

- วันที่ 4 กรกฎาคม 2387 มีการออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในเมืองไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ 

(Bangkok Recorder) โดยขณะนั้นเรียกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ

- วันที่ 15 มิถุนายน 2404 หมอบรัดเลย์ได้ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย และจัดพิมพ์ขายขึ้นเป็นครั้งแรก
นับเป็นการเริ่มต้นของการซื้อขายลิขสิทธิ์และการพิมพ์ หนังสือเล่มออกจำหน่าย

- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นคนไทยพระองค์แรกที่เริ่มต้นกิจการพิมพ์ของไทย     

เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏและผนวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร   ได้ทรงดำริสั่งเครื่องพิมพ์มาตั้งที่ 
วัดบวรนิเวศวิหารและแกะตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะ ใช้พิมพ์หนังสือสอนศาสนา เช่น พระปาฏิโมกข์ หนังสือสวดมนต์ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2394   หลังจากการขึ้นครองราชย์ทรงตั้งโรงพิมพ์หลวง 
ในพระบรมมหาราชวัง  ขนานนามว่า   โรงพิมพ์อักษรพิมพการ   และได้พิมพ์ผลงานชิ้นแรกออกมา
ชื่อ หนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ.2401

- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้หลายเล่ม และช่างพิมพ์ไทยพยายามแก้ปัญหาแม่พิมพ์ โดยแกะแม่พิมพ์ไม้ขี้นใช้เอง


- พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่าง ๆ มากมาย กิจการพิมพ์ในยุคนี้เจริญก้าวหน้า 
มีความประณีต งดงามมากยิ่งขึ้นและโรงพิมพ์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามลำดับ

- การศึกษาทางการพิมพ์เริ่มขึ้นประมาณ พ.ศ.2476 ในระดับอาชีวศึกษาชั้นต้นชั้นปลายที่โรงเรียน

ช่างพิมพ์วัดสังเวช

- พ.ศ.2496 ได้มีการสอนวิชาการพิมพ์ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ในแผนกวิชาช่างพิมพ์ทำการสอน ระดับอนุปริญญา



thk. http://www.edu.nu.ac.th